การสอนแบบบูรณาการ
(integration
instruction)
ภาศกร
พันธุ์รอด ( http://202.44.34.144/kmit/knowledge_detail.php?IDKM=334 ) ได้รวบรวมความคิดเห็นแล้วสรุปการสอนแบบบูรณาการ มีใจความต่อไปนี้
บูรณาการ หมายถึง การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน
เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา
และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่า การให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ
1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ
และการปฏิบัติ
2.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน
3.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
4.เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
5.เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่าง
ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของผู้สอนแบ่งออกเป็น
2 ประเภท (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้ ตามความเหมาะสม) ดังนี้
(1)การบูรณาการภายในวิชา
มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น
(2)การบูรณาการระหว่างวิชา
มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป
โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้
ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชา หรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน
หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้
การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ
การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการนำวิชาการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน
ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้น ๆ
เข้าด้วยกัน ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1. การเลือกหัวเรื่อง จากประเด็นต่าง ๆ
ที่ต้องการเรียน เช่น ประเด็นแนวคิด ประเด็นของเนื้อหา
เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชา ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน
เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2. การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ประโยชน์ของการบูรณาการ
1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่าง ๆ
เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง
และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง
3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ
ในลักษณะองค์รวม
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้
ความเข้าใจ จากสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว
5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ส่งเสริม
สนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้
ทำอย่างไรจึงจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
1.
ผู้สอนมีความเชื่อมั่นและเข้าใจตรงกันในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. ผู้สอนได้วางแผน ได้คิดกระบวนการเรียนรู้และมีการประเมินผลร่วมกัน
3.
ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองและได้ลงมือปฏิบัติจริง
4. เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำวิชาต่าง ๆ
เชื่อมโยงกันมากกว่าที่จะเกิดจากเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งเท่านั้น
5. มีการนำข้อมูล ทรัพยากรท้องถิ่น
และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการ
จะรู้ได้อย่างไรว่าได้มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแล้วหรือยังโดยดูได้จากหัวข้อต่อไปนี้
1. ผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกเรียนตามความถนัด
ความสนใจของตนเอง
2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
กว้างขวางตามความพร้อมของผู้เรียน
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด ได้ทำ
ได้แก้ปัญหา ได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
และผู้เรียนลงมือปฏิบัติเองโดยมีผู้สอนเป็นเพียงให้คำแนะนำให้คำปรึกษา
4. มีการเชื่อมโยงเนื้อหาในวิชาเดียวกัน
หรือต่างวิชา
5. มีการยืดหยุ่นเวลาเรียนได้ตามสถานการณ์
6.
มีการเชื่อมโยงสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
ยาเบ็น
เรืองเจริญศรี( http://www.kroobannok.com/blog/39220 ) ได้รวบรวมการสอนแบบบูรณาการ ดังนี้
ความหมายการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
กระทรวงศึกษาธิการ (2546:19)
อ้างถึงใน พระเทพเวที,2531:24)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า
การบูรณาการ
หมายถึงการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์สาขาต่างๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีความหมาย
มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2540:6)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสอนแบบบูรณาการ
หมายถึงการเชื่อมโยงวิชาหนึ่งเข้ากับวิชาอื่นๆ ในการสอน
เช่น การเชื่อมโยงวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์และภาษาไทย การเชื่อมโยงวิชาวิทยาศาตร์กับสังคมศึกษา การเชื่อมโยงวิชาศิลปะกับภาษาไทย เป็นต้น
โศภนา บุณยะกลัมพ
(2546:8)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า
การสอนแบบบูรณาการ
หมายถึงการสอนซึ่งนำเอาสาระการเรียนรู้ต่างๆ เข้ามาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์แก่ผู้เรียน
โดยใช้สาระการเรียนรู้ใดสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนหลักแล้วขยายวงกว้างขวางออกไป
เพื่อให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดความสมบูรณ์ในตัวของเขาเอง
นิรมล ศตวุฒิ
(2547:74)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสอนแบบบูรณา
หมายถึงการจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ในลักษณะองค์รวม (Holistic Way) ระหว่างวิชาต่างๆ
อย่างมีความหมายตามสภาพความเป็นจริงในชีวิตหรือสภาพปัญหาสังคมที่ซับซ้อน
จากที่กล่าวมาพอสรุปความหมาย
การสอนแบบบูรณาการได้ว่า
เป็นการเชื่อมโยงวิชาหนึ่งเข้ากับวิชาอื่นๆ ในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย
และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
รูปแบบของการบูรณาการ (Models of
Integration)
รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการมี 4
รูปแบบ คือ
1. การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction)
การสอนรูปแบบนี้ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่น
ๆ เข้าไปในการสอนของตน เป็นการวางแผนการสอนและสอนโดยครูเพียงคนเดียว
2. การสอนบูรณาการแบบขนาน (Parallel Instruction)
การสอนตามรูปแบบนี้ ครูตั้งแต่
2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน ต่างคนต่างสอนแต่ต้องวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน
(Theme/concept/problem) ระบุสิ่งที่ร่วมกันและตัดสินในร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้นๆ อย่างไรในวิชาของแต่ละคน
งานหรือการบ้านที่มอบหมายให้นักเรียนทำจะแตกต่างกันไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน
3. การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary Instruction)
การสอนตามรูปแบบนี้คล้าย ๆ กับการสอนบูรณาการแบบขนาน (Parallel Instruction)
กล่าวคือครูตั้งแต่
2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน มุ่งสอนหัวเรื่อง
ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกันต่างคนต่างแยกกันสอนเป็นส่วนใหญ่ แต่มีการมอบหมายงาน หรือโครงการ (Project) ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ครูทุกคนจะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อที่จะระบุว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้น
ๆ ในแต่ละวิชาอย่างไร
และวางแผนสร้างโครงการร่วมกัน(หรือกำหนดงานจะมอบหมายให้นักเรียนทำร่วมกัน) และกำหนดว่าจะแบ่งโครงการนั้นออกเป็นโครงการย่อย
ๆ ให้นักเรียนปฏิบัติแต่ละรายวิชาอย่างไร
4.
การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ
(Transdisciplinary Instrction)
การสอนตามรูปแบบนี้ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ
จะร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม
ร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือ
และกำหนดหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน
การสร้างบทเรียนแบบบูรณาการ
การสร้างบทเรียนแบบบูรณาการมี 2
ลักษณะคือ
การสอนบูรณาการตามรูปแบบที่ 1 และ
2
และการสอนบูรณาการตามรูปแบบที่ 3 และ 4
การสอนตามรูปแบบที่ 1 (Infusion Instruction)
และรูปแบบที่ 2 (Parallel Instruction)
มี 2 วิธีคือ
วิธีที่หนึ่ง เลือกหัวเรื่อง (Theme) ก่อนแล้วดำเนินการพัฒนาหัวเรื่องให้สมบูรณ์ มีกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมให้ชัดเจน
กำหนดแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่จะใช้ในการค้นคว้าและเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและอื่นๆ ตามลำดับ
วิธีที่สอง เลือกจุดประสงค์รายวิชาจาก 2
รายวิชาขึ้นไปก่อน
แล้วนำมาสร้างเป็นหัวเรื่อง (Theme) ที่ร่วมกันระหว่างจุดประสงค์ที่เลือกไว้กำหนดแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่ใช้ในการค้นคว้าและเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและอื่นๆ ตามลำดับ
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิธีที่หนึ่ง เลือกหัวเรื่องก่อน
ขั้นที่
1 เลือกหัวเรื่อง (Theme) โดยวิธีต่อไปนี้
1.
ระดมสมองของครูและนักเรียน
2.
เน้นที่การสอดคล้องกับชีวิตจริง
3.
ศึกษาเอกสารต่างๆ
4.
ทำหัวเรื่องให้แคบลงโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงความสะดวกในการเชื่อมโยงระหว่างวิชาความรู้
และความสนใจของนักเรียน
ขั้นที่
2 พัฒนาหัวเรื่อง (Theme) ดังนี้
1.
เขียนวัตถุประสงค์โดยกำหนดความรู้และความสามารถที่ต้องการ
จะให้เกิดแก่ผู้เรียน
เขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างวิชา
กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนเพื่อนำไปสู่กิจกรรม
2. กำหนดเวลาในการสอนให้เหมาะสมกับกำหนดเวลาต่างๆ
ตามปฏิทินของโรงเรียน เช่น จำสอนเมื่อใด ใช้เวลาเท่าไร ยืดหยุ่นได้หรือไม่
ต้องใช้เวลาออกสำรวจหรือทำกิจกรรมนอกห้องเรียนหรือไม่ ฯลฯ
3.
จองเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการกระทำกิจกรรม
ขั้นที่
3 ระบุทรัพยากรที่ต้องการ ควรคำนึงถึงทรัพยากรที่หาได้ง่าย แล้วติดต่อแหล่งทรัพยากร
ขั้นที่
4 พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1.
พัฒนากิจกรรมที่ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงกับเนื้อหาวิชาอื่น
2.
ตั้งจุดมุ่งหมายของกิจกรรมให้ชัดเจน
3.
เลือกวิธีที่ครูวิชาต่างๆ
จะทำงานร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวิชา
4.
เลือกวิธีการสอนที่จะใช้
5.
สร้างเอกสารแนะนำการปฏิบัติกิจกรรม
6.
สิ่งที่ครูควรจะต้องเตรียมล่วงหน้าอาจประกอบด้วยสิงต่อไปนี้
-
ใบความรู้
-
ใบงาน
-
แบบบันทึก
(ซึ่งอาจเป็นแบบที่ครูออกแบบให้เลย
หรืออาจเป็นแบบบันทึกที่นักเรียนจะต้องช่วยกันออกแบบก็ได้)
-
สื่อและอุปกรณ์อื่นๆ
-
แบบประเมิน
ขั้นที่
5
ดำเนินการตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่เตรียมไว้โดย
-
พยายามปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ แต่อาจปรับกิจกรรมตามความสนใจของนักเรียน
-
ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดหน่วยการเรียน
-
ร่วมมือกับครูคนอื่น มีการพบกันเป็นระยะเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า
ขั้นที่ 6 ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน โดยครูควรกระทำตลอดเวลาเพื่อประโยชน์
ในการปรับปรุงงานครูอาจให้นักเรียนประเมินผลตนเองก็ได้ครูควรใช้วิธี
ประเมินผลที่หลากหลายและให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง เช่น
สังเกตวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนตรวจผลงาน ทอสอบ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหรือผลงานของนักเรียน ประเมินจากการแสดง นิทรรศการของนักเรียน การสัมภาษณ์นักเรียน ฯลฯ
ขั้นที่
7
ประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยครูสำรวจจุดเด่น-จุดด้อย
ของกิจกรรม
แล้วบันทึกไว้เพื่อนำไปปรับปรุง
ขั้นที่
8 แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างครูด้วยกันเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนากิจกรรม ในครั้งต่อๆไป
วิธีที่สอง เลือกจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อน
ขั้นที่ 1
เลือกจุดประสงค์การเรียนรู้จาก
2 รายวิชาขึ้นไปที่จะนำมาบูรณาการกันโดย
จะต้องพิจารณาว่าจุดประสงค์นั้น ๆ
เกี่ยวข้องกันหรือไม่
และเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ถ้าหากมีความสัมพันธ์เกี่ยวกันหรือไปด้วยกันได้ จึงนำมาบูรณาการกัน
ขั้นที่ 2
นำจุดประสงค์ดังกล่าวในขั้นตอนที่
1 มาสร้างเป็นหัวเรื่อง (Theme) ที่ร่วมกัน
ระหว่างจุดประสงค์ที่เลือกไว้
ขั้นที่ 3
ระบุทรัพยากรที่ต้องการ
ขั้นที่ 4
พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นที่ 5
ดำเนินการตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่เตรียมไว้
ขั้นที่ 6
ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน
ขั้นที่ 7
ประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นที่
8
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างครูด้วยกัน
สำหรับการสอนบูรณาการตามรูปแบบที่ 3 (Multidisciplinary Instruction)
และรูปแบบที่ 4 (Transdisciplinary Instruction)
นั้น
เน้นที่งานหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามากกว่า 1
สาขาวิชาขึ้นไปที่จะให้นักเรียนปฏิบัติหรือศึกษา
ดังนั้นวิธีการสร้างบทเรียนแบบบูรณาการในขั้นที่
4 “การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน” จึงเป็นการกำหนดงานหรือโครงการ (Project) ที่จะให้นักเรียนทำ ทั้งนี้เพราะการสร้างงานหรือโครงการเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการสร้างบทเรียนแบบบูรณาการเพราะสามารถเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลายๆ สาขาวิชาได้
งานหรือโครงการที่นักเรียนจะต้องทำมี 4
ประเภทคือ
1.
ข้อสรุป หมายถึงข้อสรุปทั่วไปที่สร้างขึ้นจากการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.
กระบวนการ หมายถึงวิธีดำเนินการโดยละเอียดในการแก้ปัญหา หรือในการทำงาน
3.
สิ่งประดิษฐ์ หมายถึงชิ้นงานที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือทำงานต่างๆ
4.
การแสดงออกทางอารมณ์หรือจิตใจที่เป็นผลจากการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น
ภาพเขียน รูปปั้น หุ่นจำลอง จิตรกรรมฝาผนัง บทความหรือเรียงความ เป็นต้น
ณัฐฎา แสงคำ ( http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1699 ) ได้รวบรวมวิธีการสอนแบบบูรณาการไว้ดังนี้
การสอนแบบบูรณาการ (content
and language integrated learning)
CLIL (content and language integrated
learning)
เทคนิคการสอนแบบบูรณาการ (content
and language integrated learning) เป็นการนำสาระการเรียนรู้ในวิชาที่สอนไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
บูรณาการ หมายถึงการทำให้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะขยายความเพิ่มเติมได้อีกว่าหมายถึงการทำ ให้หน่วยย่อย ๆ ที่สัมพันธ์อิงอาศัยกันเข้ามาร่วมทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ( พระเทพเวที 2531 : 24 )
บูรณาการ หมายถึงการนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ( Integrated
Curriculum ) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เช่นเดียวกัน การเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราเรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ( Integrated
Instruction ) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นที่การเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู ( สุวิทย์ มูลคำ และคณะ : 2543 )
ชนาธิป
พรกุล
ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “ การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิด ที่บรรจุอยู่ในแผนของหลักสูตร
เป็นการเชื่อมโยงแนวนอนระหว่างหัวข้อและเนื้อหาต่างๆที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง
การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูลข่าวสารมาก จึงเกิดเป็นหลักสูตรที่เรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (Integrated curricula)
ซึ่งพยายามสร้างหัวเรื่อง
(Themes) ใน โปรแกรมวิชาโดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กัน และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย”
หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curricula)
เป็น
หลักสูตรที่นำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียน ทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของหลักสูตรโดยรวม
ทำให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction)
เน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู
ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ
ผลการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ถ้าสามารถดำเนินได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ควรจะมีลักษณะโดยรวมดังต่อไปนี้
(ธำรง บัวศรี : 2532
)
1.
เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ
การบอกเล่า
การบรรยายและการท่องจำ
อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้
ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง
ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด
ด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่า
กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย
2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย
คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ
และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย
ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว
อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น
นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์
เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง
เพียงแต่เปลี่ยน
จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
คือ
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว
สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้
เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน
การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
ทำไมต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
เหตุผลสนับสนุนการบูรณาการ
1. การขยายตัวของความรู้
มีเรื่องที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในหลักสูตรมากมาย เช่น เอดส์ เพศศึกษา สิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกสาระให้ผู้เรียนเรียนในเวลาที่เท่าเดิม
2. หลักสูตรปัจจุบันไม่เหมือนชีวิตจริงเพราะเรียนเป็นช่วง
โรงเรียนต้องแสดงให้เห็นว่าแต่ละวิชาอิทธิพลต่อผู้เรียนอย่างไร
เขาควรต้องเห็นความสำคัญของทุกวิชาที่ถูกจัดเชื่อมโยงกันไว้
3. ปัจจุบันเราไม่อาจฝึกคนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะไม่ได้
จะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถ
สรุปการสอนแบบบูรณาการ (integration
instruction)
การสอนแบบบูณณาการ คือ การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง
ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ( Integrated Curriculum ) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ
มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เช่นเดียวกัน การเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราเรียกว่า
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ( Integrated Instruction ) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา
และเน้นที่การเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้
กระบวนการและการปฏิบัติ
การบูณณาการระหว่างวิชา
ตลอดจนระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดและเกิดความรู้ที่มีความหมาย
วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ในการเขียนแผนการสอนของผู้สอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การบูรณาการภายในวิชา และการบูรณาการระหว่างวิชา
การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1. การเลือกหัวเรื่อง จากประเด็นต่าง ๆ
ที่ต้องการเรียน เช่น ประเด็นแนวคิด ประเด็นของเนื้อหา เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชา
ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน
เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2. การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ประโยชน์ของการบูรณาการ
1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่าง ๆ
เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง
และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง
3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ
ในลักษณะองค์รวม
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้
ความเข้าใจ จากสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว
5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน
หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ส่งเสริม
สนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้
ที่มา
ภาศกร
พันธุ์รอด. [Online]
http://202.44.34.144/kmit/knowledge_detail.php?IDKM=334 . บูรณาการ. เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม
2558.
ยาเบ็น
เรืองเจริญศรี .[Online]
http://www.kroobannok.com/blog/39220 การสอนบูรณาการ . การสอนแบบบูรณาการ.
เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.
วิธีการสอนแบบบูรณาการ. เข้าถึงเมื่อ 20
สิงหาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น