ความสำคัญของการเรียนรู้
http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html. ได้อ้างอิงถึงผลงานของ ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) ได้กล่าวว่า
การเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1.แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ
แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา
หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ
ที่ครูนำมาใช้
3.การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา
หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว
ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
ชาญชัย อินทรประวัติ (http://www.kroobannok.com/blog/45566.) ได้กล่าวว่า
1.
ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active
Participation) หมายความว่า เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ
นักเรียนที่นั่งเหม่อลอยหรือนั่งหลับในขณะที่ครูสอนถือว่าไม่มีส่วนร่วมมากนัก
นักเรียนที่ไม่ยอมคิดเมื่อครูถามคำถามก็ถือว่า ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
นักเรียนที่ลอกการบ้านเพื่อนแทนที่จะทำเอง
ถือว่ามีส่วนร่วมเหมือนกันแต่ไม่เข้าขั้น active นักเรียนที่เข้าห้องปฏิบัติการแต่ไม่ยอมทำอะไรเองคอยอาศัยแต่เพื่อน
ก็ถือว่าไม่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้เองผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาจึงสอนเด็ก ๆ ว่า “จะต้องเป็นคนเอาตาดู
เอาหูฟัง และเอาใจใส่” กับเรื่องรอบ ๆ ตัว
จึงจะเฉลียวฉลาดทันคน
2.
ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน
(Gradual approximation) ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ
ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร คนเราต้องพูดเป็นคำ ๆ
ได้เสียก่อนจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน
แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง
รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย
แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม
3.
หลักการที่สามคือ
ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป (Immediate
feedback) เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของครูไป
แล้วเขาก็มักอยากจะ รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง
ถ้าเขาได้รับข้อมูลย้อนกลับทันการและเหมาะสมเขาก็จะเกิดการเรียนรู้
ที่ดีรวมทั้งเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป
แต่ถ้าเขาไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับหรือต้องคอยเป็นเวลานานจึงจะได้รับเขาจะเกิดการเรียนรู้น้อย
และในขณะเดียวกันความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ก็จะมีไม่มาก
เพราะฉะนั้นครูจึงควรตระหนักในสิ่งต่อไปนี้
- เมื่อเด็กตอบคำถามเขาจะต้องได้รับการบอกกล่าวว่าคำตอบของเขานั้นถูกหรือผิดประการใด
- เมื่อเด็กการบ้านมาส่ง
ครูต้องตรวจ และให้คำแนะนำให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้
- เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทักษะ
ครูต้องคอยดูและคอยบอกว่าเขาปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วหรือยัง
4.
หลักการข้อที่สี่ การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม (Appropriate
Reinforcement)
ผู้เรียนทุกคนไม่ว่าอายุมากหรืออายุน้อย ไม่ว่าหญิงหรือชาย ล้วนต้องการกำลังใจหรือการเสริมแรงเพื่อให้ฟันฝ่าอุปสรรค
แสวงหาความรู้ต่อไป ซึ่งการให้กำลังใจของครูอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
-เมื่อเด็กพยายามจะเล่าถึงความสำเร็จในการเรียนรู้ของเราเองให้ครูฟัง
ครูก็ควรต้องมีเวลาฟัง
-เมื่อเด็กมีคำถามและนำมาปรึกษา
ครูก็ให้คำปรึกษาด้วยความเต็มใจ
-เมื่อเด็กทำงานถูกต้องตามที่ควรจะเป็น
ครูก็ชมเชย
-เมื่อเด็กมีผลงานอยู่ในระดับดีมาก
สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ครูก็ยกย่องให้ปรากฏ
-เมื่อเด็กมีผลงานที่ถูกต้อง
แม้ไม่สมบูรณ์แบบ ครูก็ชมเชยในส่วนที่ถูกและชี้แนะในสิ่งที่ผิดฯลฯ
การเสริมแรงหรือการให้กำลังใจที่ดีจะต้องมีความพอเหมาะพอสมกับผลงาน
คือ ไม่ชมเชยจนเกินความเป็นจริง เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
แต่ก็ต้องไม่น้อยจนเกินไป เช่น สำหรับเด็ก นักศึกษาชั้นปีที่ 1
ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.39
อาจารย์ที่ปรึกษาก็น่าจะพูดชมเชยด้วย เพราะการยิ้ม ๆ อย่างเดียวก็น่าจะน้อยเกินไป
แต่สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอาจจะไม่ต้องพูดชมเชยด้วยก็ได้เพราะเขาโตแล้ว
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. ได้อ้างอิงถึงผลงานของRichard R. Bootsin ได้กล่าวว่า
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. ได้อ้างอิงถึงผลงานของRichard R. Bootsin ได้กล่าวว่า
- การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
- มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
- ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน No
one old to
learn
- การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สรุป ความสำคัญของการเรียนรู้มีความสำคัญคือ การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต และการเรียนรู้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ ความสำคัญของการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 4 ประการ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้แก่ แรงขับ สิ่งเร้า การตอบสนอง และการเสริมแรง
ที่มา
ดอลลาร์ดและมิลเลอร์ [online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html. ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.
ชาญชัย อินทรประวัติ [online] http://www.kroobannok.com/blog/45566 .ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558. Richard R. Bootsin [online] www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt . ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.
ที่มา
ดอลลาร์ดและมิลเลอร์ [online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html. ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.
ชาญชัย อินทรประวัติ [online] http://www.kroobannok.com/blog/45566 .ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558. Richard R. Bootsin [online] www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt . ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.